เรื่อง ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับประเทศพม่า
ที่มา http://ทัวร์พม่า.com/myanmar.html

|
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
(Socialist Republic of the Union of
Myanmar) ที่ตั้ง : สหภาพพม่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาเหนือและ ๒๖-๓๑ องศาเหนือ ลองติจูดที่ ๙๒ องศาตะวันออก และ ๑๐๑ องศาตะวันออก
และมีชายฝั่งทะเลยาว ๑,๙๓๐
กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดกับจีน ทิศตะวันออก ติดกับจีน
ลาว และไทย ทิศใต้ ติดกับอ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวเบงกอล อินเดีย และบังคลาเทศ สหภาพพม่า (Union
of Myanmar; ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๓๒ พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ
แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ
ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandawไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม
คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่าMyanmar แต่ความจริงแล้ว
ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า เมืองหลวงแห่งใหม่ของพม่า: เมืองเนปิดอ (Naypyidaw) เป็นเมืองหลวงใหม่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ
อยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนเหนือราว ๓๒๐ กม. เมืองสำคัญของพม่า : ย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของประเทศ
และเป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม : มัณฑะเลย์ ศูนย์กลางธุรกิจการค้าในประเทศทางตอนบน : เมียวดี เมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทย ตรงข้าม
อ.แม่สอด จ.ตาก : ท่าขี้เหล็ก เมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทย
ตรงข้าม อ.แม่สาย จ.เชียงราย : เกาะสอง เมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับไทย ตรงข้าม จ.
ระนอง : มูเซ เมืองค้าขายสินค้าชายแดนกับจีน ตรงข้ามเมืองลุยลี่
การย้ายเมืองหลวง เมื่อวันที่ ๖ พ.ย. ๒๕๔๘
รัฐบาลพม่าได้เริ่มย้ายที่ทำการของ กระทรวงต่างๆ รวม ๙ กระทรวง(จากกระทรวงและหน่วยงานระดับ
กระทรวงทั้งหมด ๓๒ กระทรวง) ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม กระทรวงสารนิเทศ
กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยว กระทรวงพลังงาน
กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาพื้นที่ชายแดน
ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงย่างกุ้ง
(เมืองหลวงของพม่าตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ๒๔๙๑) ไปยังพื้นที่ใกล้เมืองปินมะนา (Pyinmana) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนเหนือราว
๓๒๐ กม. และเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ พม่าได้ตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่อย่างเป็นทางการว่า เนปิดอ (Naypyidaw) ซึ่งมีความหมายว่า ราชธานี (Royal City) ทั้งนี้การย้ายเมืองหลวงของพม่าในครั้งนี้
รัฐบาลพม่าได้ให้เหตุผลว่า
เนื่องจากเมืองหลวงใหม่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศทำให้สามารถเดินทางเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เหมาะต่อการพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและการสื่อสาร (Transportation and Communication Hub) บางกระแสก็ว่า พล.อ.อาวุโส ตัน ฉ่วย ประมุขของประเทศพม่า
เชื่อในคำทำนายของนักโหราศาสตร์ที่ว่าอายุของกรุงย่างกุ้งใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
หากไม่ย้ายเมืองหลวงจะเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่
ขณะที่นักวิเคราะห์และสื่อมวลชนในต่างประเทศหลายสำนักต่างให้ความเห็นว่า
การที่เมืองเนปิดอตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาและป่าทึบ
รวมทั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเล ทำให้มีภูมิประเทศเหมาะต่อการเป็นฐานบัญชาการเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากภายนอก(กรุงย่างกุ้งตั้งอยู่ตามแนวลำน้ำ
และไม่ห่างจากชายฝั่งทะเลนัก ทำให้ง่ายต่อการถูกโจมตีทางเรือได้)
โดยคาดการณ์กันว่ารัฐบาลพม่าอาจเกรงว่าจะถูกสหรัฐฯ
เข้าโจมตีเหมือนอย่างที่เคยโจมตีอิรักมาแล้วในปี ๒๕๔๖ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
สหรัฐฯ ได้แสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลพม่า
และความล่าช้าในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในพม่ามาโดยตลอด ประกอบกับทำเลที่ตั้งของเมืองเนปิดอ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณรัฐฉาน (Shan
State) รัฐคะยา (Kayah State) รัฐชิน (Chin
State) และรัฐกะเหรี่ยง (Karen
State) ทำให้ง่ายต่อการที่รัฐบาลพม่าจะควบคุมอำนาจการปกครองเหนือชนกลุ่มน้อยในรัฐเหล่านี้ในอนาคต ศาสนา: ส่วนใหญ่ชาวพม่านับถือศาสนาพุทธ
๙๐% ศาสนาคริสต์
๔% ศาสนาอิสลาม
๓% ศาสนาฮินดู
๐.๗%นับถือผีไสยศาสตร์ ๒.๓% ภาษา: ร้อยละ
๘๕ ใช้ภาษาพม่า นอกนั้นร้อยละ ๑๕ พูดภาษากระเหรี่ยง มอญ จีนกลาง
ภาษาราชการคือภาษาพม่า
|
*******************
กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็น ประชาคมอาเซียน
ที่มา ศนิโรจน์ ธรรมยศ, นิตยสารท็อปกัน
ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕
มาถึงวันนี้คงมีน้อยคนที่ยังไม่ทราบว่าประเทศไทยของเรากำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ หรือ ค.ศ.๒๐๑๕
เพราะเรื่องนี้กำลังเป็นเรื่องใหญ่และใกล้ตัวอย่างมาก การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนจะมีผลกระทบต่อคนไทยและประชากรอาเซียนทุกเพศทุกวัย
อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น
หลักสูตรการเรียนการสอนของไทยก็จะต้องมีการปรับตัวเป็นหลักสูตรเพื่อรองรับความเป็นอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น, การใช้หลักสูตรที่มีความเป็นสากล
มีมาตรฐาน ลูกหลานของเราจะมีเพื่อนฝูงที่เป็นนักเรียนจากประเทศอาเซียนเข้ามาร่วมเรียนในโรงเรียนเดียวกัน หรือนักเรียนไทยอาจจะไปเรียนต่อมัธยมต้น มัธยมปลาย
หรือมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย หรือประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ถนนหนทางจะแปรเปลี่ยนไปเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน เราจะเห็นรถติดป้ายทะเบียนอินโดนีเซีย, สิงคโปร์,มาเลเซีย, ลาว, พม่า,เวียดนาม, กัมพูชา
เข้ามาวิ่งขวักไขว่บนท้องถนนในบ้านเรา ในขณะเดียวกันเส้นเขตแดนที่ลากแบ่งระหว่างชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านก็กำลังจะละลายจางหายไปพร้อมๆ
กับการเดินทางข้ามประเทศอย่างเสรีของผู้คนในกลุ่มประเทศอาเซียนดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวดเร็วจนเราตามไม่ทัน และเร็วจน
รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข
จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
มันจะเร็วจนแทบไม่ต้องพูดถึงการรวมตัวของอาเซียนแล้ว แต่ควรจะเป็นการพูดถึง โลกภายหลังการรวมประชาคมอาเซียน (Post
ASEAN Community) มากกว่า

ประชาคมอาเซียน จะเป็นการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศเข้าเป็นหนึ่งเดียว
หรือประชาคมเดียว แม้จะยังไม่อาจเทียบได้กับสหภาพยุโรป (European Union) ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าอาเซียนมากนัก
และกลายเป็นสหภาพที่อยู่ เหนือชาติ (Supranational trait) เกือบจะสมบูรณ์แล้ว
แต่ประชาคมอาเซียน ก็มีแนวทางที่คล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป คือ
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพ สันติสุข และความมั่นคงในภูมิภาค
เพื่อให้ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
มีกลไกทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากกรณีความขัดแย้งบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชาที่อาเซียนพยายามใช้แนวทางสันติในการแก้ปัญหา รวมทั้งไทยและกัมพูชาเองต่างก็ยืนยันตรงกันว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสองประเทศ
ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งด้านความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนจะไม่ถูกนำไปผูกโยงกับความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ
แต่ในทางกลับกันความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ เช่น
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมกลับจะเป็นสิ่งเชื่อมโยงและนำมาซึ่งข้อยุติของความขัดแย้งด้านความมั่นคงอย่างสันติวิธี ทั้งนี้เพราะการรวมประชาคมอาเซียนนั้นประเทศสมาชิกจะต้องมีพันธะสัญญาร่วมกัน
ในการมีกฎเกณฑ์และค่านิยมที่เหมือนกัน จะมาทำตนแปลกแยก โดดเด่นไม่เหมือนใคร
ดังเช่นที่อังกฤษเคยประกาศไม่ยอมเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะกฎเกณฑ์ของประชาคมอาเซียนต่างจากสหภาพยุโรป

ความสำคัญของประชาคมอาเซียนก็คือ ประชาคมนี้จะเป็นการรวมกิจกรรม
หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่างๆ ทั้งสามด้าน
คือ ด้านการเมืองและการทหาร, ด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือที่เรียกกันว่าสามเสาหลัก (Pillars) เข้าด้วยกัน ส่งผลให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย
๑. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community APSC)
๒. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community AEC)
๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Social Cultural Community ASCC)
ในห้วงเวลาที่ผ่านมามีเรื่องที่กังวลอย่างยิ่งก็คือ
ผลจากการวัดค่าความรู้ของประชากรในอาเซียนเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นประชาคมนั้น
ประเทศไทยเราถูกจัดอยู่ในอันดับรั้งท้าย กล่าวง่ายๆ ก็คือ นักเรียน นักศึกษา
ข้าราชการตลอดจนประชาชนคนไทย
รับรู้และเตรียมการเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนน้อยมาก ส่วนประเทศที่มีการเตรียมการสูงเป็นอันดับหนึ่ง
คือ ลาว ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมอย่างมากและนำหน้าไทยไปหลายก้าว ทั้งการเตรียมคน การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชากร